วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย


1)      ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย
1.1) บรรทัดฐานทางครอบครัวและสังคม ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย ในอดีตมีความแตกต่างจากในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากในอดีตบุตรหลานจะถูกปลูกฝังโดยการอบรมเลี้ยงดูให้เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาอย่างเคร่งครัด วิถีชีวิตตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิตจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ทางครอบครัวได้วางเอาไว้ รวมทั้งปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อมก็ยังไม่เอื้ออำนวยอย่างเช่นปัจจุบัน ค่านิยมทางเพศในอดีตมีลักษณะดังนี้
ตัวอย่างค่านิยมทางเพศในอดีต
(1) ผู้หญิงต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ผู้หญิงต้องถูกกดขี่ข่มเหงด้วยความไม่เสมอภาคทางเพศ
(2) ผู้ชายมักเป็นใหญ่ในบ้าน และมีอำนาจในการตัดสินใจทุกอย่าง ส่วนผู้หญิงมีหน้าที่เพียงแค่ดูแลบ้านและบุตรเท่านั้น
(3) การนัดพบกัน ในอดีตสามารถพบกันได้โดยการแนะนำจากผู้ใหญ่หรือพบกันตามวัดในเทศกาลต่างๆ ไม่มีโอกาสได้มาพบกันในสถานที่สาธารณะอย่างเช่นในปัจจุบัน
(4) ผู้หญิงต้องไม่แสดงกิริยายั่วยวน แสดงท่าทีเชื้อเชิญหรือให้โอกาสผู้ชายได้เข้ามาใกล้ชิด
(5) การถูกควบคุมจากผู้ใหญ่ในเรื่องของการเลือกคนรัก การแต่งงาน ที่เรียกว่า คลุมถุงชน โดยให้เหตุผลถึงความคู่ควร เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจะนึกถึงความรักของระหว่างบุคคล ทั้งนี้มักจะอ้างว่าใช้บรรทัดฐานทางครอบครัวและสังคมเป็นเครื่องตัดสินใจให้แต่งงานกัน ซึ่งอาจจะด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับก็ตาม แต่ก็ต้องยินยอมพร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมของเพศหญิงให้มีความรักและซื่อสัตย์ต่อสามีเพียงคนเดียว
ตัวอย่างค่านิยมทางเพศในปัจจุบัน
ปัจจุบันสภาพครอบครัวและสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชาย ส่วนภาระหน้าที่การดูแลบ้านและการเลี้ยงดูบุตรก็ยังคงเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเช่นเดิม ทั้งนี้ ผู้หญิงสามารถได้รับการศึกษาในระดับสูงๆ ได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ผู้หญิงมีสิทธิ์ที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและโต้แย้งในกรณีต่างๆ ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน ทำให้มีโอกาสมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น การเลือกฝ่ายชายที่จะมาเป็นคู่ครอง การขอหย่าถ้าแต่งงานไปแล้วไม่มีความสุข การเป็นผู้นำครอบครัว เป็นต้น
1.2) สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันมาก ในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุ สถานบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ศูนย์การค้า ปัญหาสารเสพติด และความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นอาจใช้ชีวิตที่หลงผิด จนอาจก่อให้เกิดเป็นปัญหาอาชญากรรมทางสังคมได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ยากจน ไม่มีโอกาสศึกษาต่อ ต้องหาเลี้ยงชีพโดยไม่สุจริต เกิดความฟุ้งเฟ้อเพื่อต้องการให้ตนเองทัดเทียมกับผู้อื่น และในที่สุดก็เกิดค่านิยมทางเพศที่ผิดๆ เช่น การมีความคิดว่า การขายบริการทางเพศเป็นสิ่งที่หารายได้ให้แก่ตนเองได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
1.3) สื่อเทคโนโลยี  ความก้าวหน้าและรวดเร็วของสื่อเทคโนโลยี อาจเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดค่านิยมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากวัยรุ่นสามารถติดต่อหรือคบเพื่อนต่างเพศที่ไม่เคยรู้จักกันได้ง่าย เพียงแต่โทรศัพท์หรือใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการติดต่อกัน หากใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมหรือคุยกับบุคคลที่ไม่หวังดีด้วย อาจก่อให้เกิดปัญหาการถูกล่อลวงหรือปัญหาในทางไม่ดีอื่นๆ ตามมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น